ศิลปะร่วมสมัย สืบสานวัฒนธรรมไทยข้ามผ่านกาลเวลา ด้วยศาสตร์ล้านนาประยุกต์
ให้บริการเขียนแบบ รับเหมาก่อสร้าง
ศาลาอเนกประสงค์ ที่ออกแบบให้ดูปลอดโปร่งสบายตาซึ่งยังคงดูวิจิตรด้วยหลังคาทรงมะนิลาและประดับลวดลาย
จิตรกรรมสไตล์ไทย
ฌาปนสถานหรือเมรุ ที่ได้ทำการปรึกษาร่วมกับลูกค้าซึ่งต้องการลบภาพจำของ เมรุ ให้กลายเป็น
บ้านหลังสุดท้ายของผู้ที่จากไป
อาคารปฏิบัติธรรม ที่ได้รับโจทย์จากทางลูกค้าว่าต้องการให้อาคารออกมาในรูปแบบล้านนาแต่ยังดูร่มรื่น
เข้ากับสภาพแวดล้อมโดยรวม
หอระฆัง วัดผาปูนอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
หอระฆัง เป็นศาสนสถานที่มีในทุกวัดโดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นสถานที่ไว้ใช้แขวนระฆัง ตีบอกเวลาแก่พระสงฆ์ในการลงทำวัดและประกอบกิจของสงฆ์ เพียงแต่กาลเวลาได้เปลี่ยนไปและผู้คนเข้าถึงเทคโนโลยีได้มากขึ้น
ทำให้ปัจจุบันการใช้งานหอระฆังถูกลดลงไปและหอระฆังก็กลายเป็นงานสถาปัตยกรรมที่มุ่งไปที่ความสวยงามมากกว่าใช้งาน
และด้วยผู้คนในพื้นที่แบ่งเป็นผู้นับถือศาสนาพุทธและคริสต์อย่างชัดเจน พร้อมกับทางผู้จ้างวานอยากได้งานสถาปัตยกรรมที่ดูไม่จำเจ เรียบง่ายปลอดโปร่ง
ทางเราจึงได้ออกแบบให้หอระฆังบนวัดมีลักษณะเรียบง่าย ร่วมสมัยโดยยังคงซึ่งไว้ของกลิ่นอายความเป็นไทยจากการเลือกใช้หลังคาถึงสามชั้น และตกแต่งมุขทางเข้าให้มีลวดลายเล็กน้อย
กุฏิรับรองหอฉัน วัดศรีบุญเรือง อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน
อาคารกุฏิรับรองหอฉันที่มีโจทย์จากทางลูกค้าว่าต้องการให้ได้ประโยชน์สูงสุดในพื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัด
วัดศรีบุญเรือง เป็นวัดที่ล้อมรอบไปด้วยบ้านพักอาศัยของผู้คนในหมู่บ้านและยังเป็นวัดที่ตั้งอยู่ใกล้กับโรงเรียน ทำให้วัดศรีบุญเรือง เป็นสถานที่ที่มีกิจกรรมอยู่บ่อยครั้งและชาวบ้านยังให้ความนับถือ ไว้เนื้อเชื่อใจ
ส่งลูกหลานให้บวชเรียนในวัดนี้ ด้วยจำนวนของ พระและสามเณร ที่ไม่สัมพันธ์กับพื้นที่ ทำให้เจ้าคณะวัดเห็นพ้อง ที่จะสร้างหอฉันให้กับสามเณรแต่ก็อยากให้ใช้พื่นที่ได้อย่างคุ้มค่าที่สุด จึงอยากได้เป็นอาคารสองชั้น
ที่ชั้นบนจะเป็นกุฏิรับรองให้กับแขกที่เข้ามาทำธุระภายในวัด ด้วยโจทย์ที่รับมาจากทางเจ้าคณะ
ทางเราจึงได้ปรึกษาร่วมกับทางผู้จ้างวาน จนได้อาคารออกมาในรูปแบบ อาคารทรงไทยประยุกต์
ที่ใช้หลังคาทรงมะนิลาซึ่งทางเราก็ได้ใส่ความเป็นล้านนาประยุกต์ด้วยการออกแบบทางเข้าอาคาร
มีความเป็นไทยเพิ่มขึ้น โดยการใช้มุขทางเข้าให้เข้ากับตัวอาคาร จนได้ออกมาเป็น "กุฏิรับรองหอฉัน"